ชลดา คงประเวช
ประวัติส่วน
ชื่อ : ชลดา นามสกุล : คงประเวช (สระบัว)
ชื่อเล่น : เอ๋
สถานภาพ : สมรส
เกิด : 21 มีนาคม 2524
อายุ : 30 ปี
ที่อยู่ : 9/1 ม. 8 ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง 21210
สถานที่ทำงาน : โรงเรียนวังจันทร์วิทยา
จบการศึกษาจาก : วิทยาลัยเทคนิคระยอง
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ : มหาวิยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ส่งการบ้านค่ะ
1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
- เทคโนโลยี(Technology) หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นตัวอย่าง เช่น การนำเอาเทคโนโลยีการสแกนเอกสารเก็บเป็นไฟล์ pdf. นำมาปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสามารถนำมาใช้ในการสแกนลายนิ้วมือเก็บไว้
เพื่อเป็นหลักฐานได้
- สารสนเทศ (Information) หมายถึงข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียงเพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ต่อผู้ใช้ ตัวอย่าง เช่น กราฟหรือตัวเลขที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละที่ได้จากการนำค่าตัวเลขไปทำการประมวลผลให้เป็นรูปของเปอร์เซ็นต์ร้อยละ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการสรุปข้อมูลเสนอต่อผู้บริหาร
- ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ปรากฏการณ์ คนสิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน ตัวอย่าง เช่นข้อมูลอาจอยู่ในรูป ข้อความ ตัวเลข ตัวอักษรหรือภาพ
- ฐานความรู้ คือ สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้ ตัวอย่างในชีวิตประจำวันเราใช้เทคโนโลยีในด้านคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ในการดำเนินกิจกรรมการประกอบอาชีพ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทุกด้านในการปฏิบัติงาน มีการจัดเก็บข้อมูล
ฐานข้อมูล ฐานความรู้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่อไป
2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้างจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ - โครงสร้างสารสนเทศ
1.ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าการประมวลผลรายการ(Transactionprocessing system) ตัวอย่าง เช่น การพิมพ์ใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้าแต่ละรายซึ่งแสดงรายการต่าง ๆ ในใบเสร็จรับเงิน
2.ระดับสอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่างานควบคุมการดำเนินงาน (Operation control) ตัวอย่าง เช่น การสรุปข้อมูลยอดขายประจำวันประจำสัปดาห์ หรือ ประจำเดือน เพื่อเก็บบันทึกข้อมูลไว้
3.ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปีซึ่งเรียกว่างงานควบคุมการจัดการ (Management control) ตัวอย่างเช่น การรวบรวมข้อมูลยอดขายในรอบบ 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อสรุปรายงานต่อระดับจัดการเพื่อระดับจัดการได้นำข้อมูลมาเพื่อจารณาตัดสินใจในการจัดทำเตรียมแผนการดำเนินงานต่าง ๆ
4.ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอ์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริการจัดการระดับสูงสำหรับใช้ในการวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic planning) ตัวอย่าง เช่น การนำเสนอยอดขายประจำปีในรูปของแผนภูมิหรือกราฟ เพื่อให้ผู้บริหารนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจในการวางแผนการขายระยะยาวและการกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในปีต่อไปได้
3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ1.ยุคการประมวลผลข้อมูล(Data processing era) เป็นยุคแรก ๆ
ของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น คือเพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดบุคลากรลง ตัวอย่าง เช่น การพิมพ์เอกสารรวบรวมข้อมูลต่าง ๆไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเรียกดูได้ง่าย สะดวก รวดเร็วในการปฏิบัติงาน เช่นการพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management information system:MIS) เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจดำเนินการ ควบคุมติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์งานของผู้บริหาร ตัวอย่าง เช่น การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่ผู้บริหารต้องการใช้งาน สามารถเรียกดูข้อมูลประจำเดือน/ประจำปี
เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ
3.ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information resource
management system:IRMS) เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จตัวอย่าง เช่น การนำเอาสารสนเทศไปใช้ในหน่วยงานต่าง ๆขององค์กร เช่น ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์,สารสนเทศในงานผลิต,งานจัดซื้อ,สินค้าคงคลังและงานเพื่อการสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information technology era) ในจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญอย่างรวดเร็วทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ ๆ ของสินค้าและบริการ รวมเรียกว่าเป็นที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นของการให้บริการสารสนเทศ
ตัวอย่าง เช่น การซื้อ-ขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต , และล่าสุดมีการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ด้วยตนเองผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต โดยไม่มีพนักงานคอยแนะนำ ไม่มีสำนักงาน ติดต่อสื่อสารด้วยระบบออนไลน์
การบ้านบทที่ 2,3,4 ค่ะ
1. อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input Device) มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
- เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผล กลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์
เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่
- 1. แป้นพิมพ์(Keyboard)
2. เมาส์(Mouse)
3. แทร็กบอล (Track Ball)
4. แทร็กบอล (Track Ball)
5. เครื่องอ่านบาร์โค๊ต (Bar Code Reader)
6. สแกนเนอร์ (Scanner)
7. เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (Optical Character Reader:
OCR)
8. เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character
Reader: MICR)
9. ปากกาแสง (Light Pen)
10. จอสัมผัส (Touch Screens)
11. กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera)
2.อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
- ทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม
- อุปกรณ์ คือ CPU เมนบอร์ด แรม
3.อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
- เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์
- มีอุปกรณ์ 1.จอภาพ (Monitor)
2.เครื่องพิมพ์(Printer)
3.เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์
4.เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง ลำโพง
คำถามท้ายบท บทที่ 3
1.ระบบสารสนเทศประกอบไปกี่ส่วน คืออะไรบ้าง
ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย
5 ส่วน คือ
1. ข้อมูล เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อบุคคลและองค์กร
ข้อมูลแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้
1.1 ข้อมูลทั่วไป
1.2 ข้อความ
1.3 ภาพ
1.4 เสียง
1.5 Tactile Data
1.6 ข้อมูลจากเครื่องรับรู้ ได้จากเครื่องรับรู้ต่างๆ
ที่ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์
2. การจัดเก็บ เน้นการจัดข้อมูลให้อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกต่อการเรียกใช้งาน
3. เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล เครื่องมือที่ใช้
คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
4. การประมวลผล คือ
การแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการนำมาใช้งาน
5. สารสนเทศ เป็นผลผลิตของระบบสารสนเทศที่มีคุณสมบัติถูกต้อง
ตรงความต้องการ ทันเหตุการณ์
2.ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผลปัจจุบันนิยม 2แบบ คือ
1. ด้วยแรงงานคน เป็นวิธีการที่ใช้กับข้อมูลไม่มากนัก
และจะนำอุปกรณ์มาใช้ใน –
การเก็บข้อมูล, -การคำนวณ-และการคัดลอกข้อมูล ได้แก่ แฟ้ม
,เครื่องคิดเลข,ปากกา เป็นต้น
2.ด้วยเครื่องอิเล็คทรอนิคส์ เป็นการประมวลผลข้อมูลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้
ขั้นตอนการทำงานสะดวก ถูกต้องรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เหมาะที่จะใช้
เกี่ยวกับ งานการเงิน,สถิติ,และงานบัญชี เป็นต้น
นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์
แบ่งได้ 3วิธี ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล
เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล
ซึ่งมี 4 วิธี
1.1 การลงรหัส
1.2 การตรวจสอบ
1.3 การจำแนก
1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นตอนการประมวลผล
คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น
มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูล
ยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์
ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
2.1 การคำนวณ
2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
2.3 การสรุป
2.4 การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ
อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน
การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
4.หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์
บิท (Bit) คือค่าที่เล็กที่สุดที่คอมพิวเตอร์รู้จัก
เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยระบบไฟฟ้า และสัญญาณของกระแสไฟฟ้ามี 2 สภาวะ คือสภาวะที่วงจรมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านกับวงจรที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหรืออีกนัยหนึ่งคือ วงจรเปิดและวงจรปิด สภาวะเช่นนี้ถูกนำมาใช้เทียบกับระบบเลขฐาน 2 โดยมีเลข 0 คือวงจรปิด และเลข 1 คือวงจรเปิด สามารถตรวจสอบได้ง่าย
ดังนั้นจึงนำเลขฐาน 2 มาใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยการสร้างชิป (Chip) ซึ่งเป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์
ดังนั้นจึงต้องนำบิทมารวมเป็นกลุ่มเพื่อใช้สื่อความหมาย เช่นถ้าใช้ 2 บิทจะสื่อความหมายได้ 4 แบบ คือ 00,01,10,11และถ้าใช้ 3 บิท จะสื่อความหมายได้ 8 แบบ
5.จงเรียงลำดับโครงสร้างขอ้มูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่
1.ตัวอักขระ(Character)หมายถึงสัญลักษณ์ต่างๆที่มนุษย์ใช้งาน ตัวอักขระหนึ่งตัวเมื่อนำไปเก็บในคอมพิวเตอร์เรียกว่า 1 ไบท์
แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1.1 ตัวเลข(Nuneric) คือ เลขฐาน 10 ซึ่งมีสัญลักษณ์ใช้10ตัวคือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9
1.2 ตัวอักษร(Alphabetic) คือตัวอักษร A ถึง Z ตัวอีกษรa ถึง z
1.3 สัญลักษณ์พิเศษ(Special Symbol) คือสัญลักษณ์ต่างๆเช่น เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ เครื่องหมายบวก(+)เครื่องหมายลบ(-)
เครื่องหมายคูณ (*)เครื่องหมายหาร(/) และสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น #,$,? เป็นต้น
2. เขตข้อมูล(field)หรือ รายการ(Item) คือการนำตัวอักขระประกอบกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นามสกุล อายุ เพศเงินเดือนเป็นต้น
3. ระเบียน(Record) คือกลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน
เช่น เรคคอร์ดของสินค้า
4. แฟ้มข้อมูล(File) คือการนำเรคคอร์ดชนิดเดียวกันมารวมไว้ด้วยกัน
เช่นแฟ้มข้อมูลสินค้าในการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจมีการใช้แฟ้มข้อมูลแฟ้มเดียวหรือหลายแฟ้มพร้อมกันได้
และสามารถแบ่งประเภทของแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้หลายประเภทแฟ้มข้อมูลที่ควรรู้จัก มีดังนี้
4.1 แฟ้มข้อมูลหลัก(Master file) คือ
แฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลถาวร โดยปกติแฟ้มข้อมูลหลักมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
4.2 แฟ้มรายการ(Transaction file) คือ
แฟ้มข้อมูลที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของแฟ้มข้อมูลหลัก เก็บเป็นรายย่อยๆ
คำถามท้ายบท บทที่ 4
1.สื่อกลางประเภทมีสายมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
สื่อกลางประเภทมีสาย
1. สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable) เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด
ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10
Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น
2 ชนิดคือ
1.1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย
แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง
1.2 สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted-Pair : STP) เป็นสายที่มีปลอกหุ้มอีกรอบเพื่อ ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก
จึงทำให้สายเคเบิลชนิดนี้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อในระยะไกลได้มากขึ้น แต่ราคาแพงกว่าแบบ UTP
ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณอีกแบบหนึ่ง จะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 2-3 mile
ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว
2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง
ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองจะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปอีกด้านหนึ่งได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นจำนวนมาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 mile
ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง
ข้อดี
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. สื่อกลางประเภทไม่มีสาย
มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
ประเภทไม่มีสาย
1. ระบบไมโครเวฟ (Microwave System) กลไกของการสื่อสารและรับสัญญาณของไมโครเวฟใช้จานสะท้อนรูปพาลาโบลา
เป็นระบบที่ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอดๆ
จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง และสัญญาณของไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรง ดังนั้นสถานีจะต้องพยายามอยู่ในที่สูงๆ สถานีหนึ่งๆ จะ ครอบคลุมพื้นที่ที่รับสัญญาณได้ 30-50 กม. ความเร็วในการส่งข้อมูล 200-300 Mbps ระยะทาง 20-30 mile และยังขึ้นอยู่กับความสูงของเสาสัญญาณด้วย
ข้อดีและข้อเสียของระบบไมโครเวฟ
ข้อดี
1. ใช้ในพื้นที่ซึ่งการเดินสายกระทำได้ไม่สะดวก
2. ราคาถูกกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม
3. ติดตั้งง่ายกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม
4. อัตราการส่งข้อมูลสูง
ข้อเสีย
สัญญาณจะถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากธรรมชาติ เช่น
พายุ หรือฟ้าผ่า
2. ระบบดาวเทียม (Satellite System) ใช้หลักการคล้ายกับระบบไมโครเวฟ ในส่วนของการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานีต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ โดยอาศัยดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก ขั้นตอนในการส่งสัญญาณมี ทั้งหมด 3 ขั้นตอนคือ
2.1 สถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียม เรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-Link)
2.2 ดาวเทียมจะตรวจสอบตำแหน่งสถานีปลายทาง หากอยู่นอกเหนือขอบเขตสัญญาณจะส่งต่อไปยังดาวเทียมที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้น
2.3 หากยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมจะทำการส่งสัญญาณไปยังสถานีลายทาง เรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขาลง (Down-Link) อัตราเร็วในการส่ง 1-2 Mbps
ข้อดีและข้อเสียของระบบดาวเทียม
ข้อดี
1. ส่งสัญญาณครอบคลุมไปยังทุกจุดของโลกได้
2. ค่าใช้จ่ายในการให้บริการส่งข้อมูลของระบบดาวเทียมไม่ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ห่างกันของสถานีพื้นดิน
ข้อเสีย
มีเวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ
3. LAN และ WAN คืออะไรจงอธิบาย
- LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น ภายในมหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น
WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน
ในส่วนของการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานีต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ โดยอาศัยดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก
ขั้นตอนในการส่งสัญญาณมี ทั้งหมด 3 ขั้นตอนคือ
2.1 สถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียม
เรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-Link)
2.2 ดาวเทียมจะตรวจสอบตำแหน่งสถานีปลายทาง
หากอยู่นอกเหนือขอบเขตสัญญาณจะส่งต่อไปยังดาวเทียมที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้น
2.3 หากยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมจะทำการส่งสัญญาณไปยังสถานีลายทาง
เรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขาลง (Down-Link) อัตราเร็วในการส่ง
1-2 Mbps
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น